เตรียมตัวให้พร้อม ทำ”ประกันรถยนต์” ใช้เอกสารอะไรบ้าง ? [อัพเดทล่าสุด 2565]
Contents
ประกันรถยนต์คืออะไร
ความหมายของประกันรถยนต์คือ การโอนย้ายความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับรถยนต์ของคุณให้กับบริษัทประกันภัยแบกรับความเสี่ยงในส่วนนี้แทน โดยแลกกับการจ่ายค่าเบี้ยจำนวนหนึ่งให้กับบริษัทประกันภัยในการบริหารความเสี่ยงต่าง ๆ
และเมื่อเกิดเหตุการณ์ใด ๆ ต่อรถยนต์ รวมถึงตัวผู้เอาประกัน และคู่กรณี ทางบริษัทประกันจะให้ความคุ้มครองต่าง ๆ แค่ผู้เอาประกัน เป็นในส่วนของค่าชดเชย ค่าสินไหมทดทน และค่าซ่อมรถยนต์ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขแต่ละกรมธรรม์
ประกันรถยนต์สำคัญอย่างไร
หากพูดถึงความสำคัญหรือความจำเป็นของการทำประกันรถยนต์นั้นต้องบอกเลยว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากหากมองในภาพรวม ไม่ใช่เพียงแต่จะช่วยคุ้มครองรถยนต์ของคุณเท่านั้น แต่เป็นการช่วยให้เสริมความมั่นใจให้กับผู้ขายในกรณีที่คุณซื้อรถยนต์แบบผ่อนจ่าย เพื่อสร้างความมั่นใจว่าเมื่อเกิดเหตุแล้วจะมีผู้มารับผิดชอบในกรณีได้รับความเสียหายเกิดขึ้น
นอกจากนั้นยังเรียกได้ว่าเป็นการเลือกบริหารจัดการการเงินได้ดีอีกด้วย หากใครที่ไม่ได้มีเงินก้อนสำรองไว้ใช้ยามฉุกเฉินการทำประกันรถยนต์ถือว่าเป็นเรื่องจำเป็นมาก ๆ เพราะหากเกิดเหตุใด ๆ ก็ตามขึ้นแล้วนั้น มูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นก็ค่อนข้างมีราคา ดังนั้นการทำประกันรถยนต์จึงมีส่วนช่วยในส่วนนี้อย่างมาก
หากมองในด้านอื่น ๆ การทำประกันรถยนต์นั้นเป็นการช่วยส่งเสริมในการลงทุนทางธุรกิจอีกด้วย ซึ่งในปัจจุบันก็เห็นได้อย่างชัดเจนในเรื่องของการลงทุนแบบประกันภัยที่มีหลากหลายบริษัทที่เติบโตและแข่งขันอย่างมาก
ทำประกันรถยนต์แล้วดีอย่างไร
สำหรับข้อดีของการทำประกันรถยนต์นั้นมีมากมายตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น เป็นผลประโยชน์ให้กับทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านบุคคลเอง ด้านสังคมที่สร้างหลักประกันให้มีความน่าเชื่อถือเกิดขึ้น รวมถึงทางด้านธุรกิจก็เช่นกัน คราวนี้เราจะมาแจกแจงข้อดีของการทำประกันรถยนต์ให้ดูเป็นข้อ ๆ กันไปเลย ตามด้านล่างนี้
อยากทำประกันรถยนต์ต้องทำอย่างไร
ขั้นตอนแรกเลยคือเลือกบริษัทประกันรถยนต์ที่คุณต้องการ ก่อนจะเลือกนั้นควรหาข้อมูลให้ถี่ถ้วนก่อน เทียบกับความต้องการของคุณและเลือกให้ตรงความต้องการมากที่สุด จากนั้นทำการซื้อประกันรถยนต์ตามเว็บไซต์ออนไลน์ก็ได้เช่นกันหรือโทรติดต่อจากทางบริษัทโดยตรง หรือตามตัวแทนจำหน่ายได้เลย
ต่อมาเป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ทำประกันรถยนต์จะเป็นในส่วนของกรอกข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลรถยนต์ รุ่น ยี่ห้อ และอายุของรถยนต์ เพื่อใช้พิจารณาในการเลือกแผนประกันรถยนต์ ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง คุณจำเป็นต้องเลือกแผนประกันให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์การใช้รถยนต์ของคุณ โดยส่วนใหญ่แล้วหากเป็นรถใหม่ก็มักจะเลือกเป็นประกันชั้น 1
เพื่อได้รับความคุ้มค่าอย่างครบถ้วน หลังจากเลือกแผนประกันแล้ว ตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ ให้ครบถ้วนจากนั้นคุณสามารถเลือกซื้อประกันได้เลยและจ่ายค่าเบี้ยประกันตามที่เลือก และรอการออกกรมธรรม์จากทางบริษัทประกันเพื่อเป็นสัญญาในการให้ประกัน เพียงเท่านี้คุณก็มีประกันรถยนต์ไว้ครอบครองแล้ว
ประกันรถยนต์ใช้เอกสารอะไรบ้าง
หลายคนที่สนใจอยากจะทำประกันรถยนต์ทั้งที่ยังไม่เคยทำประกันรถยนต์มาก่อน หรือเคยทำประกันรถยนต์มาก่อนแล้วอาจจะนานจนเกิดความหลงลืมว่าหากทำประกันรถยนต์นั้นจะต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง เพื่อเตรียมความพร้อมในการทำประกันรถยนต์จะได้ไม่เป็นการเสียเวลาในการจัดการเรื่องรถ วันนี้เราจะมาบอกกันที่นี่เลย
สำหรับผู้ที่ไม่เคยทำประกันรถยนต์มาก่อนนั้น หากต้องการทำประกันรถยนต์จะใช้เอกสารเพียงแค่ สำเนาทะเบียนรถ เท่านั้น แต่หากเป็นผู้ที่เคยทำประกันรถยนต์มาก่อนแล้วนั้นจะใช้เอกสาร 3 อย่างด้วยกัน คือ 1.สำเนาทะเบียนรถ 2.หน้ากรมธรรม์เดิม และ 3.สำเนาบัตรประชาชน
และในส่วนของสำเนาใบขับขี่ที่หลายคนอาจจะถกเถียงกันหรือสับสนว่าต้องใช้หรือไม่ คำตอบก็คือจะใช้สำเนาใบขับขี่ก็ต่อเมื่อเป็นการทำประกันรถยนต์แบบระบุคนขับ ซึ่งจะใช้หรือไม่ใช้นั้นขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละบริษัท
ดังนั้นหากเป็นเตรียมความพร้อมให้ถูกต้องจะต้องศึกษาข้อมูลเบื้องต้นจากบริษัทประกันที่คุณต้องการจะทำให้ดีเสียก่อน เพื่อลดเวลาความผิดพลาดและทำให้ไม่เสียเวลา เพื่อให้การทำประกันรถยนต์เป็นไปได้อย่างราบรื่นไม่มีสะดุด
สรุปบทความเกี่ยวกับการทำประกันรถยนต์
การทำประกันรถยนต์นั้นเรียกได้ง่ายง่ายมาก ๆ ในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถเลือกทำประกันรถยนต์ได้หลากหลายช่องทาง แม้กระทั่งช่องทางออนไลน์ที่ง่ายและสะดวกมาก ๆ เหมาะสำหรับยุคปัจจุบันที่สุด ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาและเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างง่าย เพียงแค่เตรียมเอกสารที่ใช้ทำประกันให้พร้อมเท่านั้นเอง
เมื่อคุณมีรถยนต์แล้วอย่าลืมทำประกันรถยนต์และมั่นตรวจเช็คอายุของประกันรถยนต์อยู่เสมอ เพื่อให้รถยนต์ของคุณได้รับความคุ้มครองตลอดการใช้งาน เพื่อลดความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น
อ้างอิงข้อมูลจาก สำนักคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย