กองทุนประกันสังคม กรณีว่างงาน
ประกัน | ประกันกองทุน | ประกันสุขภาพ

ตกงาน ว่างงาน ลาออก หมดห่วง เปิดวิธีขึ้นทะเบียนกองทุนประกันสังคมกรณีว่างงาน [อัพเดท 2564]

เป็นมนุษย์เงินเดือนอยู่ดี ๆ จู่ ๆ ก็กลายเป็นคน ตกงาน ถูกเลิกจ้าง กลายเป็นคนว่างงาน เซ่นพิษโควิด แล้วระหว่างที่ต้องหางานใหม่จะเอาเงินที่ไหนใช้?

ถ้าคุณเป็น “ผู้ประกันตน มาตรา 33” ที่ส่งประกันสังคมมาไม่ได้น้อยกว่า 6 เดือน หมดห่วงได้เลย เพราะคุณจะได้รับเงินช่วยเหลือชดเชยจากประกันสังคมสูงสุดถึง 90 วัน แล้วต้องทำยัง เชิญทางนี้เลยค่ะ วันนี้เว็บไซต์ Wecreatefinancialaid จะพาคุณทำด้วยกันไปทีละขั้นตอน

Contents

ใครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ?

กองทุนประกันสังคมสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 มีสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง?

กองทุนประกันสังคมกรณีว่างงาน

เป็นผู้มีอายุระหว่าง 15-60ปี ที่ทำงานในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างมากกว่า 1 คนขึ้นไป เช่น พนักงานบริษัทเอกชน ส่งเงินสมทบประกันสังคม จำนวน 5% ของเงินเดือน สูงสุดไม่เกิน 750 บาท / เดือน

สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ มีทั้งหมด 7 กรณี ดังต่อไปนี้ 1.เจ็บป่วย 2.ทุพพลภาพ 3.เสียชีวิต 4.คลอดบุตร 5.สงเคราะห์บุตร 6.ชราภาพ 7.ว่างงาน

กองทุนประกันสังคม กรณีว่างงาน

ใครบ้างจะได้สิทธิ์ประกันสังคมกรณีว่างงาน?

  • ต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วันนับแต่วันที่ว่างงาน โดยไม่ต้องรอหนังสือรับรองการออกจากงาน เพื่อเป็นการแสดงสิทธิ์ในเบื้องต้น
  • มีความสามารถในการทำงาน และพร้อมที่จะทำงานที่เหมาะสมตามที่จัดหาให้
  • ต้องไม่ปฏิเสธการฝึกงาน
  • ต้องรายงานต่อเจ้าหน้าที่สำนักจัดหางาน ไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง
  • ผู้ที่ว่างงานต้องไม่ถูกเลิกจ้างเนื่องจากกรณี ทุจริตต่อหน้าที่, กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง, จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย, ฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายในกรณีร้ายแรง, ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 7 วันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันควร,  ประมาทเลินล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง, ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา
  • ต้องมิใช่ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
  • มีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนเริ่มตั้งแต่วันที่ 8 นับแต่วันว่างงานจากการทำงานกับนายจ้างรายสุดท้าย
  • ไม่เป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39

สิทธิที่ท่านจะได้รับประโยชน์ทดแทน

กรณีถูกเลิกจ้าง

ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท

กรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลา

ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 3,000 บาท

เมื่อผู้ประกันตนสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน (ลาออก) สามารถใช้สิทธิประกันสังคมต่อได้อีก 6 เดือน โดยมิต้องเสียค่าใช้จ่าย (กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพและกรณีเสียชีวิต)

ประโยชน์ทดแทนทุกกรณีเมื่อมีสิทธิต้องยื่นเรื่องรับเงินภายใน 1 ปี เว้นแต่ กรณีว่างงานผู้ประกันตนจะต้องยื่นขึ้นทะเบียนว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐ ต้องยื่นสิทธิภายใน 30 วัน หลังจากถูกเลิกจ้างหรือลาออกจากงาน หากยื่นสิทธิเกินกว่า 30 วัน จะไม่ได้รับสิทธิย้อนหลัง และหากยื่นสิทธิเกินวันที่จะได้รับสิทธิไปแล้ว จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน

เอกสารที่ต้องใช้เพื่อขอรับประโยชน์ทดแทนจากประกันสังคม กรณีว่างงาน

  • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7)
  • บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 1 รูป (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน)
  • หนังสือรับรองการออกจากงานหรือสำเนาแบบแจ้งการลาออกจากงานของผู้ประกันตน (สปส.6-09) กรณีที่ไม่มีสำเนา สปส.6-09 ก็สามารถไปขึ้นทะเบียนกรณีว่างงานได้
  • หนังสือหรือคำสั่งของนายจ้างให้ออกจากงาน (ถ้ามี)
  • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประกันตน ผ่าน 11 ธนาคาร ดังนี้ ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน), ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน), ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน), ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน), ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน), ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน), ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน), และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

เปิดขั้นตอนการขึ้นทะเบียนประกันตนกรณีว่างงาน

1.กรอกข้อมูลผ่านเว็บไซต์ของกรมการจัดหางาน https://empui.doe.go.th/auth/index

2. ลงทะเบียนเข้าใช้งาน สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยขึ้นทะเบียนว่างงานและไม่มีรหัสผ่าน

กองทุนประกันสังคมกรณีว่างงาน
ขอบคุณรูปภาพจาก https://empui.doe.go.th/

3.อ่านข้อตกลงและเงื่อนไขให้ถี่ถ้วน กดเลือกยอมรับและเข้าใช้งาน ก่อนกด ขั้นตอนต่อไป

กองทุนประกันสังคมกรณีว่างงาน
ขอบคุณรูปภาพจาก https://empui.doe.go.th/

4.กรอกข้อมูลในช่องให้ครบถ้วน ก่อนกด ตรวจสอบข้อมูล

กองทุนประกันสังคมกรณีว่างงาน
ขอบคุณรูปภาพจาก https://empui.doe.go.th/

5.ตั้งรหัสผ่าน กรอกข้อมูลให้ครบทุกช่องที่มีเครื่องหมาย ดอกจัน (*) ก่อนกดปุ่ม ลงทะเบียน

กองทุนประกันสังคมกรณีว่างงาน
ขอบคุณรูปภาพจาก https://empui.doe.go.th/

6.คลิก ดำเนินการยืนยันลงทะเบียนผู้ว่างงาน

กองทุนประกันสังคมกรณีว่างงาน
ขอบคุณรูปภาพจาก https://empui.doe.go.th/

7.กรอกข้อมูลเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นบุคคลว่างงาน และกดปุ่มขึ้นทะเบียน

กองทุนประกันสังคมกรณีว่างงาน
ขอบคุณรูปภาพจาก https://empui.doe.go.th/

8.ผู้ประกันตนฯ จะได้รับหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน และวันที่นัดรายงานตัวของผู้ประกันตนสำหรับการเบิกสิทธิประกันสังคม ซึ่งสามารถพิมพ์ออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ได้

กองทุนประกันสังคมกรณีว่างงาน
ขอบคุณรูปภาพจาก https://empui.doe.go.th/

9. พิมพ์เอกสาร หนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน และ แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงาน (สปส.2-01/7) 

กองทุนประกันสังคมกรณีว่างงาน
ขอบคุณรูปภาพจาก https://empui.doe.go.th/

10. นำเอกสารทั้งหมด ไปยื่นได้ที่ สำนักงานประกันสังคม ทั่วประเทศ

เจ้าหน้าที่จำทำการพิจรณา และนัดหมายวันเวลาให้ท่านรายงานตัว สามารถเข้าไปรายงานตัวในเว็บไซต์ของกรมการจัดหางาน https://empui.doe.go.th/auth/index ก่อนวันนัดรายงานตัวไม่เกิน 7วันลังวันนักรายงานตัวไม่เกิน 7วันงินชดเชยจะเข้าบัญชีธนาคารของคุณ ภายใน 7วันทำการ ไม่รวมเสาร์-อาทิตย์

สะดวกสบาย เหมาะกับช่วงโควิดที่ต้องลดความเสี่ยงด้วยการอยู่บ้านจริง ๆ

ขึ้นทะเบียนว่างงานสำหรับผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยเฉพาะ

สำหรับผู้ประกันที่ไม่ได้ทำงาน หรือนายจ้างไม่ให้ทำงานเพราะเหตุสุดวิสัยจากกรณี โควิด-19 ตามประกาศ กฎกระทรวงการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยอันเกิดจากการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ พ.ศ. 2563 ทำให้ลูกจ้างหรือพนักงานไม่สามารถไปทำงานได้ตามปกติ ประกันสังคมจึงมีมาตราการเร่งเยียวยา และชดเชยรายได้ให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบ

ผู้ประกันตนจะได้รับ เงินชดเชยจากประกันสังคมเป็นจำนวนร้อยละ 50 ของรายได้ / วัน ระยะเวลาไม่เกิน 90วัน

ขั้นตอนที่ต้องทำมีดังต่อไปนี้

1. ลูกจ้างกรอกแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01/7) จากนั้นส่งให้นายจ้างพร้อมแนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก

2.นายจ้างรวบรวมแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01/7) จากลูกจ้าง

3.นายจ้างบันทึกข้อมูลในระบบ (e-Service) ใน www.sso.go.th แนบเอกสารดังต่อไปนี้

  • หนังสือรับรองการหยุดงานกรณีราชการสั่งราชการสั่งปิด/กรณีกักตัว
  • ข้อมูลลูกจ้างตามแบบ (สปส.2-01/7)

4.นายจ้างนำส่งแบบคำขอรับประโยชน์แทน (สปส.2-01/7) ของลูกจ้างที่บันทึกข้อมูลในระบบ e-Service ไปที่สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ทางไปรษณีย์ (ส่งแบบลงทะเบียน) ภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่บันทึกข้อมูลในระบบ e-Service

5.เมื่อทางประกันสังคมได้รับรายระเอียดข้อมูลจากท่าน และตรวจสอบรายละเอียดว่าถูกต้องครบถ้วย เงินเยียวยาจะถูกโอนเข้าบัญชีภายใน 5วัน และส่วนที่เหลือจะถูกโอนเข้าบัญชีทุกสิ้นเดือน จนครบ

กองทุนประกันสังคมกรณีว่างงาน

แม้ในยามวิกฤตของพิษโควิดเช่นนี้ แต่หน่วยงานประกันสังคมยังคงให้ความช่วยเหลือคุณอย่างเต็มที่ด้วยกองทุนประกันสังคมกรณีว่างงาน รวมถึงกิจการหรือลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ของเพียงแค่คุณเป็นผู้ประกันตน คุณก็จะได้รับเงินชดเชยจากการว่างงาน แม้เงินชดเชยอาจจะไม่ได้มากมาย แต่ก็อาจพอช่วยเหลือจุนเจือค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันได้

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน 1506 เปิดทำการทุกวัน ตลอด24ชั่วโมง

Similar Posts

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *